เมนู

ฉะนั้น ด้วยประการฉะนี้.
พระธรรมเทศนานี้มาแล้วด้วยอำนาจตามลำดับอนุสนธิอย่างนี้.

ก็พระสูตรมีอนุสนธิ 3 อย่าง คือ


1. ปุจฉานุสนธิ พระธรรมเทศนาที่ตรัสตอบคำถาม.
2. อัชฌาสยานุสนธิ พระธรรมเทศนาที่ทรงแสดงตามอัธยาศัย
ของสัตว์.
3. ยถานุสนธิ พระธรรมเทศนาที่ทรงแสดงตามลำดับเรื่อง.
ในอนุสนธิแห่งพระสูตร 3 อย่างนั้น พึงทราบปุจฉานุสนธิด้วย
อำนาจแห่งพระสูตรที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสวิสัชนาแก่ผู้ที่ทูลถามอย่าง
นี้ว่า เมื่อพระพุทธองค์ตรัสอย่างนี้แล้ว นันทโคบาลจึงได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ฝั่งใน ได้แก่อะไร ?
ฝั่งนอก ได้แก่อะไร ? สงสารในท่ามกลาง ได้แก่อะไร ? เกยบนบก
ได้แก่อะไร ? มนุษย์จับ ได้แก่อะไร ? อมนุษย์จับ ได้แก่อะไร ? ถูก
น้ำวนเอาไว้ ได้แก่อะไร ? ความเน่าใน ได้แก่อะไร ?
พึงทราบอัชฌาสยานุสนธิ ด้วยอำนาจแห่งพระสูตรที่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า
ทรงทราบอัธยาศัยของสัตว์เหล่าอื่น แล้วตรัสอย่างนี้ว่า ครั้งนั้นแล
ภิกษุรูปหนึ่งเกิดปริวิตกทางใจอย่างนี้ว่า จำเริญละ เท่าที่พูดกันว่า รูป
เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ต่างก็เป็นอนัตตา เอาชิ กรรมที่
อนัตตากระทำแล้วจักถูกอัตตาไหนกัน ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงทราบความปริวิตกทางใจของภิกษุรูปนั้น ด้วยพระหฤทัยของพระองค์
จึงตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เป็นฐานะที่จะมีได้

ที่จะมีโมฆบุรุษบางคนในพระธรรมวินัยนี้ ตกอยู่ในอวิชชา มีใจซึ่งมีตัณหา
เป็นใหญ่ จะพึงเข้าใจสัตถุศาสน์แล่นเกินหน้าไปว่า จำเริญละ เท่าที่พูดกันว่า
รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ต่างก็เป็นอนัตตา เอาซิ กรรม
ที่อนัตตากระทำแล้ว จักถูกอัตตาไหนกัน ดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง ดังนี้.
แต่พึงทราบยถานุสนธิ ด้วยอำนาจแห่งพระสูตรทั้งหลาย อันเป็น
ที่มาแห่งพระธรรมเทศนาในข้างหน้า ด้วยอำนาจแห่งธรรมอันเข้ากันได้
หรือด้วยอำนาจแห่งธรรมที่ขัดกันแก่ธรรมที่เป็นเหตุให้พระธรรมเทศนา
ตั้งขึ้นในเบื้องต้น ตัวอย่างเช่น ในอากังเขยยสูตร เทศนาตั้งขึ้นด้วยศีล
ในตอนต้น อภิญญา 6 มาในตอนปลาย ในวัตถุสูตร เทศนาทั้งขึ้นด้วย
อำนาจกิเลสในตอนต้น พรหมวิหารมาในตอนปลาย ในโกสัมพิกสูตร
เทศนาตั้งขึ้นด้วยการทะเลาะในตอนต้น สาราณียธรรมมาในตอนปลาย
ในกักกัจโจปัมมสูตร เทศนาทั้งขึ้นด้วยความไม่อดทนในตอนต้น อุปมา
ด้วยเลื่อยมาในตอนปลาย. ในพรหมชาลสูตรนี้ เทศนาตั้งขึ้นด้วยอำนาจ
แห่งทิฏฐิในตอนต้น การประกาศสุญญตามาในตอนปลาย. เพราะเหตุนั้น
ข้าพเจ้าจึงได้กล่าวไว้ว่า พระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ด้วยอำนาจแห่งยถา-
นุสนธิอย่างนี้ ดังนี้.
บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงการจำแนกขอบเขต พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงทรงเริมเทศนาว่า ตตฺร ภิกฺขเว ดังนี้เป็นต้น
คำ ตทปิ เตสํ ภวตํ สมณพฺราหฺมณานํ อชานตํ อปสฺสตํ
เวทยิตํ ตณฺหาคตานํ ปริตสฺสิตํ วิปฺผนฺทิตเมว
ดังนี้ ความว่า
สมณพราหมณ์เหล่านั้น เกิดโสมนัส ด้วยความยินดีในทิฏฐิ ด้วยความ

สุขในทิฏฐิ ด้วยความรู้สึกในทิฏฐิอันใด ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่า
เที่ยง ด้วยเหตุ 4 ประการ แม้ข้อนั้นก็เป็นความรู้สึกของสมณพราหมณ์
ผู้เจริญเหล่านั้น ผู้ไม่รู้ไม่เห็นสภาวะแห่งธรรมทั้งหลายตามความเป็นจริง
เป็นคนที่ยังมีตัณหาอยู่ ความรู้สึกนั้นเป็นของคนที่ยังมีตัณหาเท่านั้น
อย่างเดียว ก็และความรู้สึกนี้นั้นแล เป็นความดิ้นรนเป็นความแส่หาเท่านั้น
คือเป็นความหวั่นเท่านั้น เป็นความไหวเท่านั้น ด้วยความดิ้นรนกล่าวคือ
ทิฏฐิและตัณหา เหมือนกับหลักที่ปักไว้ในกองแกลบ มิใช่ไม่หวั่นไหว
ดุจทัศนะของพระโสดาบัน. แม้ในเอกัจจสัสสตวาทะเป็นต้น ก็นัยนี้แล.
พระบาลีว่า ตตฺร ภิกฺขเว เย เต สมณพฺราหฺมณา สสฺสตวาทา
ดังนี้ เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเริ่มไว้อีก เพื่อทรงแสดงปัจจัยสืบ ๆ
กันมา.
ในพระบาลีนั้น ด้วยพระดำรัสว่า ตทปิ ผสฺสปจฺจยา ดังนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น เกิดโสมนัส
ด้วยความยินดีในทิฏฐิ ด้วยความสุขในทิฏฐิ ด้วยความรู้สึกในทิฏฐิอันใด
ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่า เที่ยง ด้วยเหตุ 4 ประการ แม้ข้อนั้น
ก็คือความรู้สึกดิ้นรนเพราะตัณหาและทิฏฐิ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย ดังนี้.
ในวาทะทั้งปวงก็นัยนี้.
บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงภาวะที่ปัจจัยนั้นมีกำลังในความรู้สึกในทิฏฐิ
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสพระบาลีอีกว่า ตตฺร ภิกฺขเว เย เต สมณ-
พฺราหฺมณา สสฺสตวาทา
ดังนี้ เป็นต้น.

ในพระบาลีนั้น ด้วยคำว่า เต วต อญฺญตฺร ผสฺสา ดังนี้ พระ
ผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงแสดงความว่า ข้อที่ว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น เว้น
จากผัสสะ จักรู้สึกความรู้อันนั้น ดังนี้นั้น ไม่มีเหตุที่จะเป็นไปได้ อุปมา
เหมือนอย่างว่า ขึ้นชื่อว่าเสาย่อมเป็นปัจจัยมีกำลังเพื่อประโยชน์ในการ
ค้ำเรือนจากการล้ม เรือนนั้น ไม่มีเสาค้ำไว้ ไม่อาจจะตั้งอยู่ได้ฉันใด
แม้ผัสสะก็มีอุปไมยฉันนั้นแล เป็นปัจจัยมีกำลังแก่เวทนา เว้นผัสสะนั้นเสีย
ความรู้สึกในทิฏฐินี้ ย่อมไม่มี ดังนี้. ในวาทะทั้งปวงก็นัยนี้.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประมวลความรู้สึกในทิฏฐิทั้งปวง
โดยนัยมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น
สมณพราหมณ์เหล่านั้นใด เป็นสัสสตวาทะ ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่า
เที่ยง ด้วยเหตุ 4 ประการ แม้สมณพราหมณ์เหล่านั้นใด เป็นเอกัจจ-
สัสสติกะ บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น ดังนี้.
เพราะเหตุไร ?
เพราะเพื่อต้องการจะเพิ่มผัสสะข้างหน้า.
อย่างไร ?
สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดถูกต้องแล้ว ด้วยผัสสายตนะทั้ง 6
ย่อมเสวยเวทนา. ที่ชื่อว่าผัสสายตนะทั้ง 6 ในข้อนั้น ได้แก่ผัสสายตนะ 6
เหล่านี้ คือ จักขุผัสสายตนะ 1 โสตผัสสายตนะ 1 ฆานผัสสายตนะ 1
ชิวหาผัสสายตนะ 1 กายผัสสายตนะ 1 มโนผัสสายตนะ 1.
ก็ อายตนศัพท์นี้ ย่อมเป็นไปในอรรถว่า ที่เกิด ที่ประชุม เหตุ
และบัญญัติ. ในอรรถเหล่านั้น อายตน ศัพท์เป็นไปในอรรถว่า ที่เกิด
เช่นในคำว่า ชนบทกัมโพชะ เป็นที่เกิดของม้าทั้งหลาย ทักขิณาบถเป็น

ที่เกิดของโคทั้งหลาย ดังนี้ อธิบายว่า ในที่เป็นที่เกิด.
เป็นไปในอรรถว่า ที่ประชุม เช่นในคำว่า เมื่อต้นไม้ใหญ่นั้น
เป็นที่ประชุมที่น่ารื่นรมย์ใจ นกทั้งหลายย่อมพากันอาศัยต้นไม้นั้น ดังนี้.
เป็นไปในอรรถว่า บัญญัติ เช่นในคำว่า ย่อมสมมติบัญญัติว่า
ในราวป่า ในบรรณกุฎี.
อายตนศัพท์นี้นั้น ในที่นี้ย่อมควรในอรรถทั้ง 3 มีถิ่นเกิดเป็นต้น.
จริงอยู่ ธรรมทั้งหลายมีผัสสะเป็นที่ห้า ย่อมเกิด ย่อมประชุมใน
จักษุเป็นต้น แม้จักษุเป็นต้นเหล่านั้น ก็เป็นเหตุของธรรมเหล่านั้น
เหตุนั้น จึงชื่อว่า อายตนะ. และในที่นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสผัสสา-
ยตนะทั้ง 6 เป็นต้นไว้ เพื่อจะทรงแสดงความสืบ ๆ กันแห่งปัจจัยนับแต่
ผัสสะเป็นต้นไป ยกพระธรรมเทศนาโดยยกผัสสะเป็นหัวข้อนั่นเอง โดย
นัยนี้ว่า อาศัยจักษุและรูป จึงเกิดจักษุวิญญาณทั้ง 3 อย่าง ประชุมกัน
เข้า จึงเป็นผัสสะ ดังนี้.
บทว่า ผุสฺส ผุสฺส ปฏิสํเวเทนฺติ ความว่า ถูกต้อง ๆ แล้วเสวย
เวทนา.
ก็ในพระบาลีนี้ แม้จะได้ตรัสเหมือนอายตนะทั้งหลายมีการถูกต้อง
เป็นกิจไว้ก็จริง ถึงอย่างนั้น ก็ไม่พึงเข้าใจว่า อายตนะเหล่านั้น มีการ
ถูกต้องเป็นกิจ. เพราะว่า อายตนะทั้งหลาย ถูกต้องไม่ได้ ส่วนผัสสะ
ย่อมถูกต้องอารมณ์นั้น ๆ. ก็อายตนะทั้งหลาย ทรงแสดงแฝงไว้ในผัสสะ
เพราะฉะนั้น พึงทราบความในพระบาลีนี้อย่างนี้ว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น
ทั้งหมด ถูกต้องอารมณ์มีรูปเป็นต้น ด้วยผัสสะที่เกิดแต่ผัสสายตนะ 6
แล้วเสวยเวทนาในทิฏฐินั้น.

ในข้อว่า เตสํ เวทนาปจฺจยา ตณฺหา ดังนี้เป็นต้น มีวินิจฉัย
ดังต่อไปนี้
บทว่า เวทนา ความว่า เวทนาเกิดแต่ผัสสายตนะ 6. เวทนา
นั้น ย่อมเป็นปัจจัยโดยเงื่อนแห่งอุปนิสสัยปัจจัยแก่ตัณหาอันต่างด้วยรูป
ตัณหาเป็นต้น ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า เพราะเวทนาของสมณพราหมณ์
เหล่านั้นเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา ดังนี้. และตัณหานั้นก็เป็นปัจจัย
โดยเงื่อนแห่งอุปนิสสัยปัจจัย และโดยเงื่อนแห่งสหชาตปัจจัย แก่อุปทาน
4 อย่าง. อุปาทานก็เป็นปัจจัยแก่ภพอย่างนั้น. ภพเป็นปัจจัยโดยเงื่อน
แห่งอุปนิสสัยปัจจัยแก่ชาติ. ก็ในคำว่า ชาติ นี้ พึงเห็นว่า ได้แก่ขันธ์
5 พร้อมทั้งวิการ. ชาติเป็นปัจจัยโดยเงื่อนแห่งอุปนิสสัยปัจจัย แก่ชรา
มรณะ และโสกะเป็นต้น. นี้เป็นความย่อในพระบาลีนี้. ส่วนกถาว่าด้วย
ปฏิจจสมุปบาท ได้กล่าวไว้แล้วโดยพิสดารในวิสุทธิมรรค. ก็ในที่นี้
พึงทราบพอประกอบพระบาลีนั้นเท่านั้น.
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อตรัสวัฏฏกถา ย่อมตรัสด้วยศัพท์อันเป็น
หัวข้อคืออวิชชา อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เงื่อนต้นแห่งอวิชชา
ย่อมไม่ปรากฏ ในกาลก่อนแต่นี้อวิชชาไม่มี แต่ภายหลังจึงมี เพราะเหตุ
นั้น เราจึงกล่าวคำนี้อย่างนี้ว่า ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น อวิชชามีเพราะข้อนี้
เป็นปัจจัย จึงปรากฏ ดังนี้บ้าง ด้วยศัพท์อันเป็นหัวข้อคือตัณหาอย่างนี้
ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เงื่อนต้นแห่งภวตัณหาย่อมไม่ปรากฏ ในกาล
ก่อนแต่นี้ ภวตัณหาไม่มี แต่ภายหลังจึงมี เพราะเหตุนั้น เราจึงกล่าว
คำนี้อย่างนี้ว่า ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น ภวตัณหามีเพราะข้อนี้เป็นปัจจัย จึง
ปรากฏ ดังนี้บ้าง ด้วยศัพท์อันเป็นหัวข้อคือทิฏฐิอย่างนี้ว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เงื่อนต้นแห่งภวทิฏฐิ ย่อมไม่ปรากฏ ในกาลก่อนแต่นี้
ภวทิฏฐิไม่มี แต่ภายหลังจึงมี เพราะเหตุนั้น เราจึงกล่าวคำนี้อย่างนี้ว่า
ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น ภวทิฏฐิมีเพราะข้อนี้เป็นปัจจัย จึงปรากฏ ดังนี้บ้าง.
ก็ในพระสูตรนี้ เมื่อตรัสด้วยศัพท์อันเป็นหัวข้อคือทิฏฐิ ตรัสทิฏฐิ
ทั้งหลาย ที่เกิดขึ้นด้วยความติดใจในเวทนา จึงตรัสปฏิจจสมุปบาทอันมี
เวทนาเป็นมูล. ด้วยเหตุนั้น จึงทรงแสดงความข้อนี้ว่า สมณพราหมณ์
เจ้าทิฏฐิเหล่านี้ ยึดถือความเห็นนี้แล้ว แล่นไปท่องเที่ยวไปในภพ 3
กำเนิด 4 คติ 5 วิญญาณคติ 7 สัตตาวาส 9 จากนี่ไปนั่น จากนั่น
ไปนี่ ดังนี้ ย่อมวนเวียนไปตามวัฏฏทุกข์อย่างเดียว ไม่สามารถจะเงย
ศีรษะขึ้นจากวัฏฏทุกข์ได้ ดุจโคที่เขาเทียมไว้ในเครื่องยนต์ ดุจลูกสุนัข
ที่เขาล่ามไว้ที่เสา และดุจเรือที่อับปางลงด้วยลมฉะนั้น ดังนี้แล.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสวัฏฏะอันเป็นที่ตั้งอาศัยของตนผู้มี
ทิฏฐิอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงวิวัฏฏะ ยกภิกษุผู้ประกอบความ
เพียรขึ้นเป็นที่ตั้ง จึงตรัสพระบาลีว่า ยโต โข ภิกฺขเว ภิกฺขุ เป็นต้น
ในพระบาลีนั้น บทว่า ยโต แปลว่า ในกาลใด.
บทว่า ฉนฺนํ ผสฺสายตนานํ ความว่า วัฏฏะย่อมวนไปแก่คนผู้มี
ทิฏฐิ ผู้ถูกต้องด้วยผัสสายตนะเหล่าใด เสวยเวทนาอยู่ แห่งผัสสายตนะ
6 เหล่านั้นนั่นแล.
ในคำว่า สมุทยํ เป็นต้น พึงทราบความเกิดแห่งผัสสายตนะ
ตามนัยที่ตรัสไว้ในเวทนากัมมัฏฐานว่า เพราะอวิชชาเกิด จักษุจึงเกิด
ดังนี้เป็นต้น. เหมือนอย่างว่า ในเวทนากัมมัฏฐานนั้น ตรัสไว้ว่า
เพราะผัสสะเกิด เพราะผัสสะดับ ดังนี้ฉันใด ในพระบาลีนี้ก็เป็นฉันนั้น

พึงทราบอายตนะนั้นว่า ในจักษุเป็นต้น เพราะอาหารเกิด เพราะ
อาหารดับ ในมนายตนะ เพราะนามรูปเกิด เพราะนามรูปดับ ดังนี้แล.
บทว่า อุตฺตริตรํ ปชานาติ ความว่า บุคคลผู้มีทิฏฐิย่อมรู้ชัด
เฉพาะทิฏฐิเท่านั้น ส่วนภิกษุนี้ย่อมรู้ทิฏฐิ และยิงขึ้นไปกว่าทิฏฐิ คือ
ศีล สมาธิ ปัญญา และวิมุติ จนถึงพระอรหัต คือพระขีณาสพก็รู้
พระอนาคามี พระสกทาคามี พระโสดาบันก็รู้ ภิกษุผู้เป็นพหูสูต ทรง
คันถธุระก็รู้ ภิกษุผู้ปรารภวิปัสสนาก็รู้.
ก็พระธรรมเทศนาอันพระผู้มีพระภาคเจ้าให้จบลงด้วยยอดคือ พระ
อรหัตทีเดียว ดังนี้แล.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสวิวัฏฏะ อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะ
ทรงแสดงว่า ขึ้นชื่อว่าคนมีทิฏฐิที่พ้นไปจากข่าย คือ พระธรรมเทศนา
ย่อมไม่มี จึงตรัสต่อไปว่า เย หิ เกจิ ภิกฺขเว เป็นต้น.
ในพระบาลีนั้น บทว่า อนฺโตชาลีกตา ความว่า อยู่ภายในข่าย
คือ เทศนาของเรานี้นั่นเอง.
บทว่า เอตฺถ สิตา ว ความว่า อยู่ อาศัย คือ พึ่งพิงอยู่ใน
ข่าย คือเทศนาของเรานี้นั่นแหละ.
คำว่า เมื่อผุดก็ผุด มีคำอธิบายอย่างไร ?
มีคำอธิบายว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น จมลงบ้าง โผล่ขึ้น
บ้าง ก็เป็นผู้อยู่ในข่ายคือเทศนาของเรา จมลงและโผล่ขึ้น.
บทว่า เอตฺถ ปริยาปนฺนา ความว่า เป็นผู้นับเนื่องในข่ายคือ
เทศนาของเรานี้ คืออันข่ายคือเทศนานี้ผูกพันไว้ ดุจอยู่ภายในข่าย
เมื่อผุดก็ผุดขึ้น ด้วยว่าชื่อว่าคนมีทิฏฐิ ที่ไม่สงเคราะห์เข้าในข่าย คือ

เทศนานี้ ย่อมไม่มี ดังนี้แล.
บทว่า สุขุมจฺฉิเกน ความว่า ด้วยข่ายตาละเอียดถี่ยิบ.
จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าเปรียบเหมือนชาวประมง พระธรรม
เทศนาเปรียบเหมือนข่าย หมื่นโลกธาตุเปรียบเหมือนน้ำน้อย สมณะหรือ
พราหมณ์ผู้มีทิฏฐิ 62 เปรียบเหมือนสัตว์ใหญ่ กิริยาที่พระผู้มีพระภาค-
เจ้า
ทรงแสดงความที่สมณะหรือพราหมณ์ผู้มีทิฏฐิทั้งหมดตกอยู่ภายในข่าย
คือพระธรรมเทศนา เปรียบเหมือนกิริยาที่ชาวประมงนั้น ยืนแลดูอยู่
ริมฝั่ง เห็นสัตว์ใหญ่ ๆ อยู่ภายในข่ายฉะนั้น.
การเทียบเคียงด้วยข้ออุปมาในพระธรรมเทศนานี้ พึงทราบด้วย
ประการฉะนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงความที่สมณพราหมณ์ผู้มีทิฏฐิ
ทั้งหมดเป็นผู้นับเนื่องในข่ายคือพระธรรมเทศนานี้ เพราะทิฏฐิทั้งหมด
สงเคราะห์เข้าด้วยทิฏฐิ 62 เหล่านี้ อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดง
ความที่พระองค์เป็นผู้นับเนื่องในข้อไหน ๆ จึงตรัสพระมาลีว่า อุจฺฉินฺน-
ภวเนตฺติโก ภิกฺขเว ตถาคตสฺส กาโย
ดังนี้เป็นต้น.
ในพระบาลีนั้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
ที่ชื่อว่า เนตฺติ เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องนำไป.
บทว่า นยนฺติ แปลว่า ผูกคอฉุดมา.
นี้เป็นชื่อของเชือก. ก็ในที่นี้ ภวตัณหาทรงประสงค์เอาว่า เนตฺติ
เพราะเป็นเช่นกับเชือกเครื่องนำไป. จริงอยู่ ภวตัณหานั้น ย่อมผูกคอ
มหาชน นำไป คือนำเข้าไปสู่ภพนั้น ๆ เหตุนั้น จึงชื่อว่า ภวเนตฺติ.
ตัณหาเครื่องนำสัตว์ไปสู่ภพนั้น แห่งกายของพระตถาคต ขาดแล้วด้วย

ศัสตราคืออรหัตตมรรค เหตุนั้น กายของพระตถาคตจึงชื่อว่า มีตัณหา
เครื่องนำสัตว์ไปสู่ภพขาดแล้ว.
บทว่า กายสฺส เภทา อุทฺธํ ความว่า ต่อจากกายแตกไป.
บทว่า ชีวิตปริยาทานา ความว่า เพราะสิ้นชีวิตแล้ว คือสิ้น
รอบแล้วโดยประการทั้งปวง เพราะไม่ปฏิสนธิต่อไป.
บทว่า น ตํ ทุกฺขนฺติ ความว่า เทวดาก็ดี มนุษย์ก็ดี จักไม่
เห็นพระตถาคตนั้น จักถึงความเป็นผู้หาบัญญัติมิได้.
ก็ในคำอุปมาว่า เสยฺยถาปิ ภิกฺขเว ดังนี้เป็นต้น มีคำเทียบเคียง
ดังต่อไปนี้.
ก็กายของพระตถาคต เปรียบเหมือนต้นมะม่วง ตัณหาที่อาศัย
กายนี้เป็นไปในภพก่อน เปรียบเหมือนขั้วใหญ่ ซึ่งเกิดที่ต้น เมื่อยังมี
ตัณหาอยู่ ขันธ์ 5 อายตนะ 12 ธาตุ 18 ซึ่งเป็นสภาพคิดอยู่กับตัณหา
จะเกิดต่อไป เปรียบเหมือนพวงมะม่วงสุก ประมาณ 5 ผลบ้าง 12 ผล
บ้าง 18 ผลบ้าง ติดอยู่ที่ขั้วนั้น. เหมือนอย่างว่า เมื่อขั้วนั้นขาด มะม่วง
เหล่านั้นทั้งหมด ย่อมติดขั้วนั้นไป อธิบายว่า ไปตามขั้วนั้นแหละ ขาด
ไปเช่นเดียวกัน เพราะขั้วขาด ข้อนั้นฉันใด ขั้วตัณหาเครื่องนำสัตว์ไป
สู่ภพยังไม่ขาด ก็พึงเป็นเหตุให้เกิดขันธ์ 5 อายตนะ 12 ธาตุ 18
ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมติดตามขั้วตัณหาเครื่องนำสัตว์ไปสู่ภพนั้น
อธิบายว่า ไปตามตัณหาเครื่องนำสัตว์ไปสู่ภพ เมื่อตัณหานั้นขาดแล้ว
ก็ขาดไปเช่นเดียวกัน เหมือนฉันนั้นทีเดียว.
อนึ่ง เมื่อต้นไม้แม้นั้น อาศัยผัสสะอันเป็นพิษของหนามกระเบน
ซูบซีดลงโดยลำดับ ตายแล้วก็ย่อมจะมีแต่เพียงโวหารว่า ณ ที่นี้ได้มีต้นไม้

ชื่อนี้เท่านั้น ใคร ๆ มิได้เห็นต้นไม้นั้น ข้อนี้ฉันใด เมื่อกายนี้อาศัย
สัมผัสอริยมรรค เพราะยางคือตัณหาสิ้นไปแล้ว จึงเป็นดังซูบซีดลง
ตามลำดับ แตกทำลายไป ต่อจากกายแตกสิ้นชีพแล้ว เทวดาและมนุษย์
ทั้งหลายจักไม่เห็นแม้ซึ่งพระตถาคต จักมีแต่เพียงโวหารว่า ได้ยินว่า นี้
เป็นศาสนาของพระศาสดาซึ่งเห็นปานนี้ท่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรง
แสดงพระธรรมเทศนาถึงอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ด้วยประการฉะนี้.
ข้อว่า เอวํ วุตฺเต อายสฺมา อานนฺโท ความว่า เมื่อพระผู้มี -
พระภาคเจ้าตรัสพระสูตรนี้อย่างนี้แล้ว พระอานนทเถระได้ประมวลพระ
สูตรทั้งหมดตั้งแต่ต้นมา แล้วคิดว่า เราจักแสดงกำลังของพระพุทธเจ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงขนานนามพระสูตรที่ตรัส อย่ากระนั้นเลย
เราจักกราบทูลให้ทรงขนานนมพระสูตรที่ตรัสนั้น ดังนี้แล้วจึงได้กราบ
ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้.
ในบทว่า ตสฺมาติห ตฺวํ ดังนี้เป็นต้น มีคำประกอบความดังต่อ
ไปนี้
ดูก่อนอานนท์ เพราะในธรรมบรรยายนี้ เราจักได้จำแนกทั้ง
ประโยชน์ในโลกนี้ ทั้งประโยชน์ในโลกหน้า ฉะนั้นแล เธอจงทรง
จำธรรมบรรยายนี้ว่า อรรถชาละ บ้าง อนึ่ง เพราะในธรรมบรรยายนี้
เราได้กล่าวธรรมอันเป็นแบบแผนเป็นอันมาก ฉะนั้น เธอจงทรงจำธรรม
บรรยายอันเป็นแบบแผนนี้ว่า ธรรมชาละบ้าง อนึ่ง เพราะในธรรม
บรรยายนี้ เราได้จำแนกพระสัพพัญญุตญาณ อันชื่อว่า พรหม ด้วย
อรรถว่า ประเสริฐสุด ฉะนั้น เธอจงทรงจำธรรมบรรยายนี้ว่า พรหม-
ชาละบ้าง เพราะในธรรมบรรยายนี้ เราได้จำแนกทิฏฐิ 62 ฉะนั้น

เธอทรงจำธรรมบรรยายนี้ว่า ทิฏฐิชาละบ้าง อนึ่ง เพราะใคร ๆ ฟัง
ธรรมบรรยายนี้แล้ว อาจจะย่ำยีเทวบุตรมารบ้าง ขันธมารบ้าง มัจจุมาร
บ้าง กิเลสมารบ้าง ฉะนั้น เธอจงทรงจำธรรมบรรยายนี้ว่า พิชัย
สงครามอันยอดเยี่ยมบ้าง ดังนี้แล.
บทว่า อิทมโวจ ภควา ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัส
พระสูตรทั้งสิ้นนี้ จำเดิมแต่จบคำนิทานจนถึงที่ตรัสว่า เธอจงทรงจำ
ธรรมบรรยายนี้ว่า พิชัยสงความอันยอดเยี่ยมดังนี้ ทรงประกาศพระ
สัพพัญญุตญาณ อันลึกซึ้งอย่างยิ่ง ซึ่งมีที่ตั้งอาศัยอันใคร ๆ ไม่พึงได้ด้วย
ปัญญาของชนเหล่าอื่น ทรงกำจัดมืดมนใหญ่คือทิฏฐิ ดุจพระอาทิตย์
กำจัดความมืดฉะนั้น.
บทว่า อตฺตมนา เต ภิกฺขู ความว่า ภิกษุเหล่านั้น ต่างมีใจ
ชื่นบานเป็นของตนเอง อธิบายว่า เป็นผู้มีจิตฟูขึ้นด้วยปีติอันไปในพระ
พุทธเจ้า.
บทว่า ภควโต ภาสิตํ ความว่า พระสูตรนี้ประกอบด้วยเทศนา
วิลาสมีนัยอันวิจิตรอย่างนี้ คือเป็นพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
ด้วยพระสุรเสียงอันไพเราะ ดังเสียงนกการเวก เสนาะโสต เป็นพระ
สุรเสียงเพียงดังเสียงแห่งพรหม เช่นกับทรงโสรจสรงน้ำอมฤตลงในหทัย
แห่งบัณฑิตชน.
บทว่า อภินนฺทุํ ความว่า อนุโมทนาด้วย รับรองด้วย.
ก็ อภินนฺท ศัพท์นี้ มาในอรรถว่า ตัณหา ก็มี เช่นในคำว่า
อภินนฺทติ อภิภวติ ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมกล่าวสรรเสริญ เป็นต้น.
มาในอรรถว่า เข้าไปใกล้ ก็มี เช่นในประโยคว่า เทวดาและ

มนุษย์ทั้ง 2 ฝ่ายต่างก็เข้าไปใกล้อาหารเป็นต้น.
มาในอรรถว่า รับรอง ก็มี เช่นในประโยคว่า
ญาติมิตรและผู้มีใจดี ย่อมรับรองบุคคล
ผู้ร้างแรมไปนาน แล้วกลับจากที่ไกลมาโดย
สวัสดีเป็นต้น.

มาในอรรถว่า อนุโมทนา ก็มี เช่นในประโยคว่า
อภินนฺทิตฺวา อนุโมทิตฺวา แปลว่า เพลิดเพลินแล้ว อนุโมทนา
แล้วเป็นต้น.
อภินนฺท ศัพท์นี้นั้น ในที่นี้ย่อมควรในความว่า อนุโมทนาและ
รับรอง ด้วยเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า บทว่า อภินนฺทุํ ความว่า
อนุโมทนาด้วย รับรองด้วย ดังนี้.
ภิกษุทั้งหลายต่างอนุโมทนาสุภาษิต ที่พระผู้มี
พระภาคเจ้าผู้คงที่ตรัสดีแล้ว รับรองด้วยเศียร
เกล้าว่า สาธุ สาธุ ดังนี้แล.

บทว่า อิมสฺมิญฺจ ปน เวยฺยากรณสฺมึ ความว่า พระสูตรอัน
ไม่มีคาถาปนนี้. ก็พระสูตรนี้ เรียกว่า ไวยากรณ์ เพราะไม่มีคาถาปน
บทว่า ทสสหสฺสีโลกธาตุ ความว่า โลกธาตุประมาณหมื่น
จักรวาล.
บทว่า อกมฺปิตฺถ พึงทราบว่า ได้ไหวในเมื่อจบพระสตรีทีเดียว
หามิได้ ข้อนี้สมดังที่ท่านพระอานนท์กล่าวไว้ว่า เมื่อกำลังตรัสอยู่ ฉะนั้น
พึงทราบว่า เมื่อกำลังทรงแสดงคลี่คลายทิฏฐิ 62 อยู่ได้ไหวแล้วในฐานะ
62 ประการ คือเมื่อเทศนาทิฏฐินั้น ๆ จบลง ๆ.

ในข้อนั้น

พึงทราบแผ่นดินไหวด้วยเหตุ 8 ประการ คือ


1. ธาตุกำเริบ
2. อานุภาพของผู้มีฤทธิ์
3. พระโพธิสัตว์ก้าวลงสู่พระครรภ์
4. เสด็จออกจากครรภ์พระมารดา
5. บรรลุพระสัมโพธิญาณ
6. ทรงแสดงพระธรรมจักร
7. ทรงปลงอายุสังขาร
8. เสด็จดับขันธปรินิพพาน
วินิจฉัยเหตุแม้เหล่านั้น ข้าพเจ้าจักกล่าวในคราววรรณนาพระบาลี
ที่มาในมหาปรินิพพานสูตรอย่างนี้ว่า ดูก่อนอานนท์ เหตุ ปัจจัย 8
เหล่านี้แล ที่ให้เกิดแผ่นดินไหวใหญ่ ดังนี้ทีเดียว. ก็แผ่นดินใหญ่นี้
ได้ไหวในฐานะ 8 แม้อื่น คือ
1. คราวเสด็จมหาภิเนษกรมณ์
2. คราวเสด็จเข้าสู่โพธิมัณฑสถาน
3. คราวรับผ้าบังสุกุล
4. คราวซักผ้าบังสุกุล
5. คราวแสดงกาลามสูตร
6. คราวแสดงโคตมกสูตร
7. คราวแสดงเวสสันดรชาดก
8. คราวแสดงพรหมชาลสูตรนี้
ใน 8 คราวนั้น คราวเสด็จมหาภิเนษกรมณ์ และคราวเสด็จเข้า